วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

sound level meter JTS-1358




835

เครื่องวัดระดับเสียง รุ่น JTS-1358 

Sound Level Meter


รายละเอียด :
  • เครื่องวัดระดับเสียง รอบข้าง
  • รูปแบบดิจิตอลเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรม
  • การบริหารจัดการใน การวัดระดับเสียง ด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ..
  • รูปแบบขนาดกะทัดรัดใช้งานง่าย

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของเครื่องวัดเสียง

      เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจวัดเสียงมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะเสียงที่ต้องการประเมิน ดังนี้
1. เครื่องวัดระดับความดังของเสียง (Sound Level Meter)
เป็นเครื่องมือในการวัดระดับเสียง สามารถวัดระดับเสียงได้ตั้งแต่ 40 – 140 เดซิเบล โดยทั่วไปผู้ผลิตจะผลิตเครื่องวัดเสียงที่สามารถวัดระดับเสียงได้ 3 ข่ายถ่วงน้ำหนัก  (Weighting Networks) คือ A ,B และ C ข่ายที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ ข่าย A เพราะเป็นข่ายตอบสนองต่อเสียงคล้ายคลึงกับหูคนมากที่สุด  หน่วยวัดของเสียงที่วัดด้วยข่าย A คือ เดซิเบลเอ (dBA)

เครื่องวัดระดับเสียงที่ใช้ในการประเมินระดับเสียงในสถานประกอบกิจการตามกฏหมายอย่างน้อยต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 651  Type 2 (International electrotechnical Commission 651 type 2) หรือเทียบเท่า เช่น ANSI S 1.4 , BS EN 60651 , AS/NZS 1259.1 เป็นต้น หรือ ดีกว่า เช่น IEC 804 , IEC 61672 , BS EN 60804 , AS/NZS 1259.2 เป็นต้น

2. เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ( Impulse or Impact Noise Meter)
เสียงกระทบหรือกระแทกเป็นเสียงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไปเหมือนกับเสียงปืน เช่น เสียงตอกเสาเข็ม เครื่องวัดระดับเสียงโดยทั่วไป อาจมีความไวไม่เพียงพอในการตอบสนองต่อเสียงกระแทก จึงควรใช้เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทกโดยเฉพาะ

เครื่องวัดเสียงกระทบหรือกระแทก ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804 หรือ ANSI S 1.43 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า

3. เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter)
เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาอำนวยความสะดวกในการประเมินการสัมผัสเสียงที่ีมีระดับความดังเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ตลอดระยะเวลาการทำงาน โดยเครื่องวัดชนิดนี้ จะทำการบันทึกระดับเสียง ระยะเวลาที่ได้สัมผัสที่ระดับความดังต่างๆ ตลอดเวลาที่พนักงานได้รับ พร้อมคำนวนปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับ (ค่า D มีหน่วยเป็นร้อยละ) และหรือค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอดเวลา ที่เครื่องวัดนี้ทำงาน

เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61252 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า

เนื่องจากเครื่องมือวัดระดับเสียงทั่วไป ไม่สามารถบอกความดังเสียงในช่วงความถี่ต่างๆได้ แต่เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียง สามารถวิเคราะห์ความดังเสียงในแต่ละความถี่ได้ แล้วนำผลการตรวจวัดไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการควบคุมเสียง (Noise Control) เช่น การเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียงหรือการปิดกั้นทางผ่านของเสียง และการเลือกปลั๊กอุดหูหรือที่ครอบหูที่เหมาะสมได้ เป็นต้น

เครื่องวิเคราะห์ความถี่เสียงต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกับมาตรฐาน IEC 61260 หรือเทียบเท่า หรือดีกว่า

นอกจากในส่วนของเครื่องมือในการตรวจวัดเสียงแล้ว อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียงก็มีความสำคัญ เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ

อุปกรณ์ประกอบการตรวจวัดเสียง
1. อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง (Noise Calibrator)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง โดยปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการใช้งานของบริษัทผู้ผลิต ก่อนการใช้งานทุกครั้ง

อุปกรณ์ปรับความถูกต้องของเครื่องวัดเสียง ต้องมีคุณลักษณะสอดคล้องกบมาตรฐาน IEC 60942 หรือ เทียบเท่า หรือดีกว่า

2. ฟองน้ำกันลม (wind Screen)
กระแสลมแรงมีผลทำให้การวัดระดับเสียงเกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ดังนั้นขณะตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณที่มีลมพัด เช่น ใกล้กับพัดลม ต้องสวมฟองน้ำกันลมที่ไมโครโฟนทุกครั้งและตลอดเวลาการตรวจวัด ฟองน้ำนี้นอกจากจะป้องกันกระแสลมแล้วยังสามารถป้องกันฝุ่น หรือละอองน้ำหรือสารเคมีอื่นไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไมโครโฟรของเครื่องวัดระดับเสียงด้วย
3. ขาตั้ง (Tripod)
มีลักษณะเหมือนขาตั้งกล้องถ่ายรูป สำหรับใช้ในกรณีเครื่องวัดระดับเสียงมีขนาดใหญ่หรือต้องใช้ระยะเวลานานในการตรวจวัดแต่ละจุด